O19 – การมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีตำรวจ

ขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

(Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

( ระดับสถานีตำรวจ )

         เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567  สถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก ได้ดำเนินการประชุมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  โดยมี พ.ต.อ.ดรุฒ เย็นวัฒนา ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก เป็นประธานการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ประชาสัมพันธ์ให้ ข้าราชการตำรวจในสังกัด สภ.ได้รับทราบและได้ประชุมการชี้แจงเกี่ยวกับการต่อต้านคอรัปชั่น พร้อมทั้งงดรับ สินบนและของขวัญจากประชาชนที่มาติดต่อราชการหรือแจ้งความที่ สภ.สากเหล็ก  พร้อมด้วยแจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ และทำความเข้าใจกรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

1) การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) 

        – ให้สถานีตำรวจ ศึกษาและจัดทำประเด็นแบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ผ่านหน้าเว็บไซต์หลักของสถานีตำรวจ อย่างต่อเนื่อง

2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT) 

        – ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำความเข้าใจในข้อคำถามและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ ประเด็น ข้อคำถามให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในทราบ ก่อนทำการประเมินแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) 

        – มอบหมายให้ฝ่ายอำนวยการ ดำเนินการเผยแพร่ความรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่และการ ให้บริการตามประเด็นการประเมิน พร้อมทั้งมีการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่อง  อื่น ๆ ในการประชุมได้มีการมอบหมายให้หัวหน้าแต่ละแผนกงาน ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ การประเมินแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในแผนกได้ทำความเข้าใจ และสามารถ ทำแบบประเมินได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 

3) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) 

       – ให้สถานีตำรวจประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) ของสถานีตำรวจ ให้แก่ ประชาชน ผู้มาใช้บริการประจำจุดประชาสัมพันธ์ ให้คำแนะนำและขอความร่วมมือในการทำแบบวัดการรับรู้ของผู้ มีส่วนได้ ส่วน เสียภายนอก (EIT)

       – มอบให้ฝ่ายอำนวยการ ให้พัฒนาและยกระดับการให้บริการ จัดเจ้าหน้าที่ ณ จุด ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ขั้นตอน คู่มือการปฏิบัติงาน 

       – มอบหมายให้คณะทำงานฯ เผยแพร่สื่อสารประชาสัมพันธ์ ข้อมูลผลการ ดำเนินงาน และกิจกรรม ต่าง ๆ ที่สถานีตำรวจดำเนินการร่วมกับประชาชนชน ชุมชน ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และ เผยแพร่ ผ่าน Website และ Facebook ของสถานีตำรวจ 

      – มอบหมายให้คณะทำงานฯ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เผยแพร่ QR Code หรือ URL ช่องทางการเข้าตอบ แบบวัด การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) Website และ Facebook ของสถานีตำรวจ  ให้แต่ละแผนกงานจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ QR Code หรือ URL ช่องทางการเข้า ตอบ แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) Website และ Facebook ของสถานีตำรวจ

                เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567  สถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก ได้ดำเนินการประชุมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยมี พ.ต.อ.ดรุฒ  เย็นวัฒนา ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก เป็นประธานการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจให้แก่ข้าราชการตำรวจในสถานีทุกนาย ได้รับทราบและถือปฏิบัติตามประกาศนโยบายการต่อต้านการรับสินบน (Anti-Bribery Policy) ของสถานีตำรวจ  พร้อมทั้งปลูกฝังให้ข้าราชการตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน อดกลั้น ให้บริการประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ พร้อมทั้งปลูกฝังให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ

               เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567  สถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก ได้ดำเนินการประชุมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยมี พ.ต.อ.ดรุฒ  เย็นวัฒนา ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก เป็นประธานการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ

        ๑.ให้คณะทำงานขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ ทุกสายงานของสถานี ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบน โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงและผลกระทบ (Impact)

        ๒.จัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรับสินบนของสถานี ผลลัพธ์สุดท้ายที่พึงประสงค์เพื่อให้ได้ขั้นตอนการดำเนินการป้องกันการทุจริตในแต่ละสายงาน และมีมาตรการในการป้องกันการทุกจริตดังกล่าว

            เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567  สถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก ได้ดำเนินการประชุมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยมี พ.ต.อ.ดรุฒ  เย็นวัฒนา ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก เป็นประธานการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ

๑.ให้ข้าราชการตำรวจทุกนายได้เข้าใจในการประเมินแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายใน หรือ IIT ที่ข้าราชการตำรวจจะต้องประเมินในแบบวัดการรับรู้ด้วยตนเอง

๒.ให้ข้าราชการตำรวจทุกสายงานได้เข้าใจแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก หรือ EIT เพื่อให้ประชาชนที่มารับบริการจากข้าราชการตำรวจแต่ละสายงานได้ทำการประเมิน และกำหนดสัดส่วนการเก็บข้อมูลจำแนกตามสายงาน

            เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567  สถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก ได้ดำเนินการประชุมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยมี พ.ต.อ.ดรุฒ  เย็นวัฒนา ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก เป็นประธานการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ

        ๑.เตรียมความพร้อมการรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งในในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗

       ๒.กำหนดแนวทางยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน ๒ ด้าน ได้แก่

              ๒.๑ การพัฒนายกระดับการให้บริการ One stop service เพื่อปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานรองรับการอำนวยความสะดวกประชาชนที่มารับบริการ

              ๒.๒ ยกระดับการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ หรือ OIT ตามแบบการประเมิน โดยระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละสายงาน เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน